หลาย ๆ คนอาจจะโตมาพร้อมกับการจำสีรุ้งและปริซึมตั้งแต่โรงเรียนประถมใช่ไหม อย่าง R-O-Y-G-B-I-V ทีประกอบไปด้วย แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และม่วง ซึ่งเฉดสีหลักของสีรุ้งกินน้ำ ที่เป็นปรากฏการธรรมชาติจากฝน + แสงอาทิตย์ในท้องฟ้า พวกเฉดสีเหล่านี้เป็นตัวแทนผลงานทางธรรมชาติที่เหล่าศิลปินนำมาใช้กันสร้างผลงานที่สวยงาม มีดอกไม้และใบหลากชนิดบนโลกที่สามารถนำมาใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามได้ แต่ในบางเวลาที่เมื่อคุณยืนดูดอกไม้หรือแม้กระทั่งเดินผ่านสวนสิ่งเหล่านี้อาจจะดูแตกต่างออกไป
วงล้อสีของดอกไม้จึงเป็นตัวที่จะเข้ามาช่วยลดความซับซ้อนในการจัดดอกไม้ของคุณง่ายขึ้น ช่วยให้คุณวางดอกไม้ได้ตามหลักพื้นฐานง่าย ๆ สร้างกลุ่มดอกไม้ที่เข้ากันได้ ชวนให้มีคนจับจ้อง สำหรับใช้บนโต๊ะอาหาร การตกแต่งตามงานต่าง ๆ โดยปกติแล้วเทคนิคของผมจะเน้นใช้ทุกส่วนของพืชเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสี: ดอกไม้และตาดอก รวมถึงลำต้น จากนั้นจะมีการเลือกสีแจกันอีกตัวแปรที่สำคัญของความสำเร็จ การคำนึงถึงสีหลัก และสีรอง รวมถึงต้องรู้ความสัมพันธ์ระหว่างกัน
เราจะมาเริ่มต้นจากดอกไม้ที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยจะมีสีที่ใกล้เคียงกัน ช่วยกระจายสีออกไปกลุ่ม ๆ ซึ่งจะเป็นตัวนำทางของนักจัดแบบดอกไม้ว่าพวกเขาจะจัดพวกมันให้ออกมาสวยได้อย่างไรในแจกันของพวกเขา ในการออกแบบภูมิทัศน์คุณมักจะได้ยินคำว่า “สวนสีเย็น” หรือสวน “สีร้อน” – และโดยนัยคำเหล่านี้จะอธิบายถึงสองฝ่ายตรงข้ามกันระหว่างของล้อสีของดอกไม้ สีเย็น ประกอบไปด้วยสีฟ้าอ่อนรวมถึงน้ำเงิน สีเขียวม่วงและสีชมพู โทนร้อนตั้งแต่สีเหลืองและสีส้มจนถึงสีแดง อะไรก็ตามที่ใช้หลักการเหล่านี้จะได้ผลงานที่ดูอบอุ่นชวนสงบใจ หรืออกระทั่งตื่นเต้น และเร้าร้อน
หากคุณมีดอกไม้ที่จำกัด หรือที่สำคัญคืองบไม่มีละก็ หลักการจัดดอกไม้แบบสีเดียว จะมาช่วยคุณให้พ้นจากความปวดหัวนี้ให้หมดไป เป็นเฉดสีที่เป็นกลางของธรรมชาติ และต้องขอบคุณความหลากหลายรูปร่างและขนาดของใบในโลกของพืช คุณสามารถลองใช้เทคนิคนี้กับใบไม้หรือดอกไม้สีใดก็ได้หรือจะทำการผสมของทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่ควรจะยึดติดกับกฎและหลักการมากจนเกินไป หากคุณพอใจในสีที่ชอบ อย่าช้าที่ลองผสมสีของดอกไม้แต่ละชนิดเข้าด้วยกัน จัดในแบบที่คุณคิดในใจ และดูว่ามันออกมาเป็นอย่างไร แต่ถ้าอยากจัดแบบเป็นทางการจึงเป็นหน้าที่ของหลักการที่จำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อเป็นมาตฐานระดับสากล